Update เดือนพฤษภาคม2567 กิจกรรมเชิงรุกของศูนย์วิชาการสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: ก้าวหน้า 78 %
11 กิจกรรม เพื่อขับเคลื่อนการทำงานด้านทรัพยากรน้ำ การสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ การเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ และศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ สอดคล้องกับ KR ด้านการปรับตัวและความพร้อมต่อการรับมือ (Adaptation and Resilience)
ความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ : 78%
กิจกรรมที่ 1 : การดำเนินงานส่วนกลางของศูนย์วิชาการสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ – ลงพื้นที่ 5 อำเภอของจังหวัดลำปาง สำรวจพื้นที่เป้าหมายเพื่อตรวจประเมินสภาพฝายเบื้องต้นให้กับ อปท.ในพื้นที่จังหวัด
– จัดประชุมหน่วยงานชลประทาน สทนช.ภาค 1 อปท.ลำปาง อบจ.ลำปาง ให้ความรู้ด้านการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินสภาพฝาย และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
– เสนอแนะข้อมูลทางวิชาการแนวทางการแก้ไขปัญหาฝายขนาดประสิทธิภาพ และการพัฒนาระบบสารสนเทศการตรวจประเมินสภาพฝายและการบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและน้ำท่วมในจังหวัดลำปาง เพื่อรวบรวมเป็นฐานข้อมูลด้านบริหารจัดการน้ำ 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง
กิจกรรมที่ 2 : การวิเคราะห์ข้อมูลฝนเพื่อจัดทำ IDF Curve และ DDF Curve รายอำเภอในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลฝนสำหรับจัดทำ IDF Curve และ DDF Curve ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบน จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน
กิจกรรมที่ 3 : การซ่อมบำรุงสถานีตรวจวัดระดับน้ำแบบโทรมาตรขนาดเล็กของศูนย์ฯ เพื่อสนับสนุนการเตือนภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ลงพื้นที่ซ่อมสถานีต้นแบบในพื้นที่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย เปลี่ยนระบบวงจร upgrade ให้ซ่อมบำรุงและดูแลรักษาง่ายขึ้น ย้ายข้อมูลไปส่งที่เครื่องแม่ข่ายของ SCMC
กิจกรรมที่ 4 : การซ่อมบำรุงหลักเตือนระดับน้ำท่วม และปรับปรุงตัวเลขบนหลักเตือน ในพื้นที่เขตตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่(ชุดที่ 2) หลักเตือนระดับน้ำท่วมในพื้นที่เขตตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการซ่อมบำรุงปรับปรุงตัวเลขบนหลักเตือนเพื่อประโยชน์ในการใช้งานสำหรับอ่านค่าระดับน้ำท่วม
กิจกรรมที่ 5 : การปรับปรุงโครงสร้างแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมเพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่น CM Water Forecast แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม สำหรับการคาดการณ์ 9 ชั่วโมงล่วงหน้า ผ่านระบบแอปพลิเคชั่นสำหรับเข้าถึงสถานการณ์ได้โดยสะดวก
กิจกรรมที่ 6 : การซ่อมบำรุงหลักเตือนระดับน้ำท่วม และปรับปรุงตัวเลขบนหลักเตือน จำนวน 120 หลัก ในพื้นที่เขตตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ หลักเตือนระดับน้ำท่วมในพื้นที่เขตตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 120 หลัก ได้รับการซ่อมบำรุงปรับปรุงตัวเลขบนหลักเตือนเพื่อประโยชน์ในการใช้งานสำหรับอ่านค่าระดับน้ำท่วม
กิจกรรมที่ 7 : การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อแนะนำฐานข้อมูลกฎหมายน้ำ (Water Law)
– รวบรวมข้อมูลและศึกษาฐานข้อมูลกฎหมายของหน่วยงานภาครัฐด้านน้ำ
– ติดต่อประสานงานเพื่อขอสัมภาษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับกฎหมายน้ำ
– วางแผนในการลงพื้นที่สัมภาษณ์หน่วยงานบริการสาธารณะด้านน้ำเกี่ยวกับกฎหมายน้ำ
กิจกรรมที่ 8 : การติดตามการเจริญของไซยาโนแบคทีเรียและคุณภาพน้ำในอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ข้อมูลคุณภาพน้ำเพื่อวิเคราะห์และติดตามการปรากฏของ ไซยาโนแบคทีเรียในอ่างแก้วเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการปรากฏของไซยาโนแบคทีเรียในอ่างแก้ว จำนวน 11 เดือน
กิจกรรมที่ 9 : กิจกรรมการมีส่วนร่วมกับชุมชนและการสร้างจิตสำนึกเพื่อพัฒนาพื้นที่ริมคลองแม่ข่า – เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาและชุมชนให้เกิดความเข้าใจในการพัฒนาพื้นที่คลองแม่ข่าให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
– เผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่น้ำแม่ข่าผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชน
– นำเสนอกรณีตัวอย่าง โครงการอนุรักษ์ พัฒนา แก้ไขปัญหาและฟื้นฟูคลองแม่ข่า ให้ผู้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนพลเมือง ในงานอบรมผู้บริหารสถานศึกษาและผู้นำท้องถิ่นที่อำเภอจอมทอง
กิจกรรมที่ 10 : การจัดทำผังน้ำและฐานข้อมูลน้ำต้นทุนของคลองแม่ข่าจังหวัดเชียงใหม่ – ผลการสำรวจและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำและคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำต้นทุน
– ข้อมูลผังน้ำและฐานข้อมูลน้ำด้านอุทกวิทยาของคลองแม่ข่า
กิจกรรมที่ 11 : การศึกษาความหลากหลาย ทางชีวภาพของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ และการกระจายตัวของหิ่งห้อยเพื่อใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ – ผลการบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศคลองแม่ข่า
– ผลการสำรวจการปรากฏของหิ่งห้อยในแต่ละจุดศึกษา
– ผลการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ในคลองแม่ข่า
ภาพกิจกรรมการดำเนินงานในช่วงเดือนพฤษภาคม