กิจกรรมเชิงรุกของศูนย์วิชาการสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ความก้าวหน้าของโครงการ: 78%
78%



1. หลักการและเหตุผล (โดยสรุป) :

ศูนย์วิชาการสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ มช. เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมองค์ความรู้ และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจในการจัดทำระบบฐานข้อมูลทรัพยากรน้ำ ส่งเสริมพัฒนาการศึกษาวิจัยเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน สนับสนุนและร่วมมือกับทุกภาคส่วนในด้านวิชาการเพื่อขับเคลื่อนงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์และตอบโจทย์ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


2. วัตถุประสงค์ :

2.1 เพื่อเป็นศูนย์กลางสนับสนุนทางวิชาการแบบครบวงจรด้านการบริหารจัดการน้ำ และจัดทำระบบฐานข้อมูลทรัพยากรน้ำ
2.2 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการบริหาร จัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน
2.3 เพื่อสนับสนุนและร่วมมือกับทุกภาคส่วนในด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
2.4 เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รณรงค์ให้ความรู้ในทางหลักวิชาการ จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน


3. กลุ่มเป้าหมาย :

กลุ่มเป้าหมายหลัก – กลุ่มวิชาการ อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา หน่วยงานภาครัฐ
กลุ่มเป้าหมายรอง – กลุ่มประชาชน ชุมชนและประชาชนโดยรอบพื้นที่ดำเนินงาน


4. พื้นที่เป้าหมาย :

พื้นที่ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ในเขตพื้นที่เมืองเชียงใหม่, คลองแม่ข่า


5. ขั้นตอนการดำเนินงาน :

กิจกรรมที่ 1 : การดำเนินงานส่วนกลางของศูนย์วิชาการสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กิจกรรมที่ 2 : การวิเคราะห์ข้อมูลฝนเพื่อจัดทำ IDF Curve และ DDF Curve รายอำเภอในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือตอนบน

กิจกรรมที่ 3 : การซ่อมบำรุงสถานีตรวจวัดระดับน้ำแบบโทรมาตรขนาดเล็กของศูนย์ฯ เพื่อสนับสนุนการเตือนภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

กิจกรรมที่ 4 : การสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างแผนที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม (Flood Hazard Map) ในพื้นที่เขตตัวเมืองเชียงใหม่

กิจกรรมที่ 5 : การปรับปรุงโครงสร้างแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมเพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่น CM Water Forecast

กิจกรรมที่ 6 : การซ่อมบำรุงหลักเตือนระดับน้ำท่วม และปรับปรุงตัวเลขบนหลักเตือนจำนวน 120 หลัก ในพื้นที่เขตตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่

กิจกรรมที่ 7 : การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อแนะนำฐานข้อมูลกฎหมายน้ำ (Water Law)

กิจกรรมที่ 8 : การติดตามการเจริญของไซยาโนแบคทีเรียและคุณภาพน้ำในอ่างแก้ว

กิจกรรมที่ 9 : กิจกรรมการมีส่วนร่วมกับชุมชนและการสร้างจิตสำนึกเพื่อพัฒนาพื้นที่คลองแม่ข่า

กิจกรรมที่ 10 : การจัดทำผังน้ำและฐานข้อมูลน้ำต้นทุนของคลองแม่ข่าจังหวัดเชียงใหม่

กิจกรรมที่ 11 : การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ และการกระจายตัวของหิ่งห้อยเพื่อใช้เป็นดัชนีบงชี้ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศคลองแม่ข่า


6. ระยะเวลาดำเนินการ : 1 ปี จำนวน 12 เดือน (พฤษภาคม 2566 – เมษายน 2567)


7. ผลผลิตและตัวชี้วัด (OUTPUT) :

จำนวนชุมชนที่ได้รับการอบรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ, ชุดข้อมูล IDF Curve และ DDF Curve, แผนที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม, แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมสำหรับคาดการณ์ระดับน้ำและเตือนภัยน้ำท่วม, สื่อประชาสัมพันธ์แนะนำฐานข้อมูลกฎหมายน้ำ, ฐานข้อมูลการปรากฏของไซยาโนแบคทีเรียในอ่างแก้ว, ชุดข้อมูลปริมาณและคุณภาพน้ำแหล่งน้ำต้นทุนคลองแม่ข่า, ผลงานที่มีระดับความพร้อมของเทคโนโลยีสู่อุตสาหกรรม (TRL ระดับ 3 ขึ้นไป), ร้อยละ Carbon Neutral University


8. ผลลัพธ์ (OUTCOME)  :

9.1 เป็นศูนย์กลางขององค์กรการศึกษาในการสนับสนุนทางวิชาการอย่างครบวงจรเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการฐานข้อมูลทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

9.2 อาจารย์ นักวิจัย และหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการทำงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

9.3 เครือข่ายสถาบันที่เชี่ยวชาญเฉพาะเกิดความร่วมมือทั้งในระดับภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

9.4 การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมีความเหมาะสมและทันสมัยสำหรับการเรียนรู้ในทุกระดับ

9.5 กิจกรรมบริการวิชาการและการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้กับทุกภาคส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ