การประเมินแหล่งกักเก็บคาร์บอน (Carbon sink) การชดเชยคาร์บอน (Carbon offset) และศักยภาพในการขาย คาร์บอนเครดิตจากภาคป่าไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่ของศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัดลำพูน


ความก้าวหน้าของโครงการ: 46%
46%

1. หลักการและเหตุผล (โดยสรุป) :

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีแนวทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) โดยตั้งเป้าจะเป็นหน่วยงาน ที่เป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2070 มุ่งสู่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2075 ได้ตาม Agenda ที่ 2 โดยที่ KP5.6 Carbon Offset & Sinks จ าเป็นต้องการแหล่งชดเชย และแหล่งกักเก็บคาร์บอน จัดหาคาร์บอนเครดิตเพื่อการ Offset ให้กับองค์กร ดังนั้นโครงการนี้จึงมุ่งเน้นในการจัดหาปริมาณคาร์บอนและพัฒนาเครื่องมือและระเบียบวิธีการในการ ประเมินคาร์บอน

2. วัตถุประสงค์ :

2.1เพื่อประเมินหาปริมาณคาร์บอนที่สามารถกักเก็บได้ในพื้นที่ การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัดล าพูน และ ชดเชยให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2.2เพื่อเป็นต้นแบบหน่วยงานน าร่องส าหรับการบูรณาการเทคโนโลยี ในการประเมินและติดตามก๊าซเรือนกระจกภาคป่าไม้พื้นที่สีเขียวและ การเกษตรแบบอัตโนมัติ (GHGs แบบ near real-time)

3. กลุ่มเป้าหมาย :

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, TGO, GISTDA, ThaiFlux, AsiaFluxnetwork

4. พื้นที่เป้าหมาย :

ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จังหวัด ลำพูน

5. ขั้นตอนการดำเนินงาน :

ปีที่1 : เตรียมความพร้อมพื้นที่ศึกษาเพื่อยื่นขอขึ้นทะเบียน โครงการคาร์บอนเครดิต

ปีที่2:ตรวจสอบความใช้ได้ของโครงการในการเป็นแหล่ง กักเก็บคาร์บอน

ปีที่3:ทวนสอบโครงการเพื่อการขอรับรองคาร์บอนเครดิต พร้อมชดเชยคาร์บอนให้กับ มช. รวมถึงการได้กระบวนการ ประเมินคาร์บอนแบบใหม่

6. ระยะเวลาดำเนินการ : 2566-2569

7. ผลผลิตและตัวชี้วัด (OUTPUT) :

ปริมาณ คาร์บอนที่คาดว่าจะกักเก็บได้จากการดำเนินโครงการ ประมาณ 8,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

8. ผลลัพธ์ (OUTCOME)  :

ได้สถานีติดตาม ปริมาณก๊าซเรือนกระจกแบบ near real-time1 สถานี และคาดว่าจะสนับสนุนกลไกCarbon Neutral University จากภาคการกักเก็บ (sink) ประมาณ 13% (จากการปล่อยGHGsของมช.)