การพัฒนาฟาร์มมหาวิทยาลัยเพื่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัยตามแนวทางBCG Economic Model ปีที่2

1. หลักการและเหตุผล (โดยสรุป) :

โครงการฯ ได้พัฒนาขึ้น โดยความร่วมมือของ คณะเกษตรศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอุตสาหกรรมเกษตร และกลุ่มตลาดปลอดพิษอาหารปลอดภัย ในการพัฒนาการใช้พื้นที่และปรับปรุงกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ของศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG economic model

ในส่วนต้นน้ำ

ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำจะดำเนินการปรับปรุงคอกวัวสาธิต เพื่อให้ศูนย์บริหารจัดการขยะชีวมวลสามารถขนย้ายมูลวัวและน้ำล้างคอกไปใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพ ตะกอนแขวนลอย (Biogas slurry) ที่ได้จะถูกนำไปใช้เพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินในแปลงผลิตข้าวโพดหวานปลอดสารพิษของศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตรและแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ของภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำในส่วนกลางน้ำอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะอุตสาหกรรมเกษตร ร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปต้นแบบจากมะม่วงและข้าวโพดหวานที่ผลิตจากแปลงสาธิตและแปลงทดลองของคณะเกษตรศาสตร์ โดยการสำรวจตลาด การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และทดสอบตลาด

ในส่วนปลายน้ำ

ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ และกลุ่มตลาดพืชปลอดพิษอาหารปลอดภัย ร่วมกันในการรณรงค์การจัดการขยะของเกษตรกรและผู้ประกอบการที่นำผลิตภัณฑ์มาจัดจำหน่าย การปรับปรุงบรรจุภัณฑ์หรือการมัดห่อ ลดการใช้ถุงพลาสติก รวมไปถึงการรณรงค์ให้ผู้บริโภคคัดแยกขยะ การสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้บริโภคในการบริโภคผลผลิตผักปลอดสารพิษและจัดการขยะที่เกิดจากการบริโภค

การบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมีความสำคัญในการพัฒนาฟาร์มมหาวิทยาลัย ที่จะเป็นต้นแบบของประเทศ ในการใช้แนวทาง BCG Economic Model ในการสร้างความเชื่อมโยงและความต่อเนื่องขององค์ความรู้อย่างครบวงจรตามบริบทของทุน และความเชียวชาญของหน่วยงานในพื้นที่

2. วัตถุประสงค์ :

1) เพื่อบูรณำกำรกิจกรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ในการพัฒนาการใช้พื้นที่ ศูนย์วิจัย สาธิต และฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน และ นวัตกรรมด้านอาหารและสุขภาพของ มช.

2)เพื่อสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเกษตรปลอดภัย ตลอดจนการใช้ทรัพยากร หมุนเวียน สำหรับระบบการผลิตอย่างยั่งยืนแก่สังคมและชุมชนโดยรอบ

3. กลุ่มเป้าหมาย :

1) ประชำชนและผู้สนใจ

2) คณาจารย์ นักวิจัย

3) นักศึกษา

4. พื้นที่เป้าหมาย :

หน่วยงานในพื้นที่ศูนย์วิจัยสาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ: STEP, ERDI, คณะเกษตรศาสตร์,ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร, ศูนย์บริการวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร, ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ, ตลาดเกษตรปลอดพิษอาหารปลอดภัย

5. ขั้นตอนการดำเนินงาน :

กิจกรรมที่ 1 การใช้ประโยชน์จากตะกอนแขวนลอยที่ได้จากการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อการผลิตพืช

(1) ใช้น้ำและตะกอนแขวนลอยจากระบบการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อปรับปรุงควมอุดมสมบูรณ์ดินในการผลิตพืชผักฤดูหนาว ข้าวโพดหวาน และหญ้าเลี้ยงสัตว์

(2) ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ข้าวโพดหวาน ในแปลงสาธิต

(3) ศึกษาผลของการใช้น้ำและตะกอนในการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน

กิจกรรมที่ 2กำรจัดกำรโรงเลี้ยงโคเพื่อกำรผลิตก๊ำซชีวภำพ (594,000 บำท)(1) จัดสร้ำงบ่อพักของเสีย จ ำนวน 2บ่อ(2) ปรับปรุงรั้วของโรงเรือนและบ่อพักของเสีย(3) ติดตั้งระบบปั๊มน ้ำแรงดันสูงเพื่อท ำควำมสะอำดพื้นโรงเรือน(4) จัดซื้อเครื่องสูบฉีดน ้ำและตะกอนแขวนลอย เพื่อใช้ในกำรสูบน ้ำและตะกอนแขวนลอยจำกระบบกำรผลิตก๊ำซชีวภำพสู่ระบบกำรผลิตพืช

กิจกรรมที่ 3กำรจัดของเสียจำกโรงเลี้ยงโคเพื่อกำรผลิตก๊ำซชีวภำพ (1,290,000 บำท)(1) จัดหำและเช่ำรถสูบน ้ำเสียและอุปกรณ์ต่ำงๆ ในกำรขนส่งน ้ำเสียจำกโรงเรือนโคนมและโคเนื้อของภำควิชำสัตวศำสตร์และสัตว์น ้ำไปยังศูนย์บริหำรจัดกำรชีวมวลแบบครบวงจร(2) ปรับปรุงบ่อหมักรำงเพื่อจัดกำรน ้ำเสียมูลวัว โดยกำรออกแบบและจัดสร้ำงบ่อรับกำกตะกอน, จัดหำและติดตั้งเครื่องรีดกำกตะกอน

กิจกรรมที่ 4กำรรณรงค์เพื่อกำรจัดตั้งตลำดพืชปลอดพิษอำหำรปลอดภัยตำมแนวทำง BCG Economy Model(1) จัดอบรมถ่ำยทอดองค์ควำมรู้กำรตลำดตำมแนวทำง BCG Economy Model (2) จัดท ำแบบจ ำลองธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวทำง BCG Economy Model(3) ปรับปรุงกำรจัดกำรของเสียจำกกิจกรรมกำรจัดจ ำหน่ำยของสมำชิกตลำดและผู้บริโภค (4) สร้ำงควำมตระหนักรู้ให้ผู้บริโภคด้ำนอำหำรปลอดภัยและมีควำมรับผิดชอบต่อกำรบริโภค

กิจกรรมที่ 5กำรประชำสัมพันธ์ โครงกำรกำรพัฒนำฟำร์มมหำวิทยำลัยเพื่อกำรผลิตพืชอำหำรปลอดภัย (1) จัดท ำแผนประชำสัมพันธ์ และวำงแผนกำรใช้สื่อเพื่อประชำสัมพันธ์โครงกำรให้เป็นที่รู้จักอย่ำงกว้ำงขวำงขึ้น(2) จัดกิจกรรมเผยแพร่ประชำสัมพันธ์กิจกรรมผ่ำนช่องทำง Online และ On-site

กิจกรรมที่ 6กำรพัฒนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบจำกมะม่วงและข้ำวโพดหวำน(1) Market Survey (2) R&D (3) กำรผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และกำรออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อทดสอบตลำด4) Market Validation (5) Commercialization กิจกรรมที่ 7กำรประเมิน SROI ของโครงกำร ฯ

6. ระยะเวลาดำเนินการ : 1 ปี

7. ผลผลิตและตัวชี้วัด (OUTPUT) :

  • ระบบการใช้ประโยชน์จากตะกอนแขวนลอยจากการผลิตก๊าซชีวภาพ
  • ระบบการจัดการโรงเรือน โคเพื่อการผลิตก๊าซชีวภาพ
  • ระบบการจัดการของเสียจากโรงเรือนโคเพื่อการผลิตก๊าซชีวภาพ
  • การจัดตั้งตลาดพืชปลอดพิษอาหารปลอดภัย ภายใต้แนวคิด BCG Economy Model
  • การรับรู้ของประชาชนต่อโครงการการฯ
  • ต้นแบบและผลการศึกษาตลาดของผลิตภัณฑ์มะม่วงและข้าวโพดหวาน

8. ผลลัพธ์ (OUTCOME)  :

คุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมจากการบูรณาการองค์ความรู้

การแสวงหารายได้อย่างยั่งยืน: ในพื้นที่ต้นแบบ BCG Economic Mode! ที่มีกิจกรรมการผลิตทางกษตร

การแปรูรูป การจัดการของเสียจากการผลิตและการบริโภคนำกลับมาใช้ประ โยชน์ทางการเกษตร และการ

พัฒนาตลาดเกษตรกรเพื่อสังคม เกิดเครื่อข่ายและกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายในเพื่อ

ปรับปรุงและ ใช้ประ โยชน์จาก ส่วนสาธิต พื้นที่ ครุภัณฑ์ ผลผลิตและของเสีย จากส่วนสาธิตต่าง ๆ เพื่อ

เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การเพิ่มมูลค่าจากการแปรรูปและการนำกลับมาใช้ประ โยชน์ใหม่

การพัฒนางานบริการวิชาการ: จากการส่งสริมความรู้ความเข้าใจในการพัฒนากิจกรรมการเกษตรจากต้น

น้ำถึงปลายน้ำ จากการพัฒนาและการบูรณาการกิจกรรมของส่วนสาธิตต่าง ๆ เกิดเป็นองค์ความรู้ที่

ต่อเนื่องและมีความเชื่อมโยงกันภายในห่วงโซ่อุปทานใหม่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย เป็นการเพิ่มความ

หลากหลายของสถานที่ศึกษาดูงานของประชาชน หน่วยงานต่ง และที่ฝึกงานของ น.ศ. ทั้งภายในและ

ภายนอกและช่วยตอบโจทย์พันธกิจของ มช.ทางด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน และด้านอาหารและสุขภาพ