update เดือนพฤษภาคม 2567 การจัดการและใช้ประโยชน์มูลวัวจากคอกสาธิตเพื่อการผลิตพืชปลอดสารพิษและ หญ้าอาหารสัตว์ (ภายใต้โครงการพัฒนาฟาร์มมหาวิทยาลัยเพื่อการผลิตพืชอาหาร ปลอดภัยตามแนวทาง BCG Economic Model ปีที่ 2)
ความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ : 58%
โครงการการพัฒนาฟาร์มมหาวิทยาลัยเพื่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัยตามแนวทาง BCG Economic Model ปีที่ 2 ได้พัฒนาขึ้น โดยความร่วมมือของ คณะเกษตรศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอุตสาหกรรมเกษตร และกลุ่มตลาดปลอดพิษอาหารปลอดภัย ในการพัฒนาการใช้พื้นที่และปรับปรุงกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ของศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG economic model ที่รัฐบาลไทยได้ประกาศไว้ในในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) เศรษฐกิจชีวภาพ
ในปีที่ 1 โครงการฯ โดยการดำเนินงานของคณะเกษตรศาสตร์ได้พัฒนาการใช้พื้นที่ชองศูนย์วิจัยสาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ โดยดำเนินการปรับปรุงกิจกรรมของส่วนสาธิตการผลิตพืชอาหารได้ตามแผนงาน โดยใช้เทคโนโลยีโรงเรือน ระบบให้น้ำ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและรักษาระดับผลผลิตตลอดทั้งปี เพื่อผลิตพืชผักปลอดสารพิษและพืชไร่เพื่อสุขภาพ การผลิตพืชผักพื้นบ้านตามภูมิปัญญาของท้องถิ่น และการพัฒนาระบบตลาด ทั้งยังมีการดำเนินงานร่วมกับ (1) สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ในการปรับปรุงกากตะกอนที่ได้จากการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหารของโรงอาหารในมหาวิทยาลัยเพื่อผลิตวัสดุปลูกที่สามารถใช้ในการผลิตพืช และได้ร่วมวางแผนกับ (2) โครงการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาหารปลอดภัย (Food Safety CMU) ในการนำผลผลิตที่ได้จากส่วนสาธิตการผลิตพืชปลอดสารพิษมาใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหารในโรงอาหารของมหาวิทยาลัยในระยะต่อไป โดยคาดหวังว่าโครงการจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ 133.25 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปี ปัจจุบันโครงการ มีความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ 58% เมื่อเทียบกับแผนการดำเนินงาน
กิจกรรม/แผนการดำเนินงาน | ผลการดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน (8 เดือน) |
กิจกรรมที่ 1 : การใช้ประโยชน์จากตะกอนแขวนลอยระบบก๊าซชีวภาพ | – งานจ้างเหมาปรับปรุงระบบการจัดการของเสีย ประกอบด้วย งานติดตั้งท่อกากตะกอน, ระบบทำความสะอาดก๊าซ, ระบบควบคุมแบบอัตโนมัติต่างๆ และชุดใบกวนบ่อเก็บตะกอนดำเนินการแล้วเสร็จ |
กิจกรรมที่ 2 : การจัดการโรงเรือนโคเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ | จัดทำแบบก่อสร้างยื่นเสนอให้ทางกองแผนพิจารณาขอใบเนอราคาและเปรียบเทียบครุภัณฑ์แล้วเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณโครงการจากรถดูดปฏิกูลเป็น ปั๊มดูดตะกอนสำรวจพื้นที่และหน้างานการติดตั้งปั๊มดูดโคลน |
กิจกรรมที่ 4 การดำเนินงานจัดกิจกรรม | ร่างกิจกรรมลดคาร์บอนฯ ทำเครื่องมือคำนวณประมาณคาร์บอนที่ลดได้จากกิจกรรมลดคาร์บอนฯอยู่ระหว่างจัดทำการพัฒนาเครื่องมือคำนวณกิจกรรมการลด บนแพลตฟอร์มCFE |