“โครงการใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติกและวัสดุทางเลือกในการศึกษาถนนอย่างยั่งยืนเพื่อความเป็นกลาง ทางคาร์บอนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ระยะที่ 1)


ความก้าวหน้าของโครงการ: 90%
90%

1. หลักการและเหตุผล (โดยสรุป) :

โครงการ “การใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติกและวัสดุทางเลือกในการศึกษาถนนอย่าง ยั่งยืน เพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ระยะที่ 1)” โดยจะเป็นโครงการนำร่องในการ พัฒนาเครื่องมือทดสอบและอุปกรณ์เตรียมขยะพลาสติก เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์ชำนาญการและการให้บริการวิชาการองค์ ความรู้ในการใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติกและวัสดุทางเลือกในการก่อสร้างถนนต่อไปในอนาคต (ระยะที่ 2) ซึ่ง นอกจากจะเป็นแนวทางหนึ่งในการลดปริมาณขยะพลาสติกและของเสียจากภาคก่อสร้างและภาคการเกษตรที่ถูก นำมาแปรรูปเป็นถ่านชีวมวล ยังสามารถตอบสนองกับนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) จากการชดเชยคาร์บอนเครดิต (Carbon Offsetting) เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Carbon Neutral University) ผ่านโครงการในระยะที่ 3 ต่อไป


2. วัตถุประสงค์ :

1) เพื่อให้เป็นศูนย์ชำนาญการและงานวิจัยในการบริการองค์ความรู้ในการใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติกและวัสดุ ทางเลือก อันได้แก่วัสดุผิวทางรีไซเคิลและถ่านชีวมวล ในการก่อสร้างถนนแก่ทุกภาคส่วน รวมไปถึงองค์กร ภายนอกมหาวิทยาลัย 2) เพื่อสร้างความร่วมมือทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ จากองค์กรภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงภาคของ ผู้ประกอบการ ในการสนับสนุนการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติกและวัสดุผิวทางรีไซเคิลนำกลับมา ใช้ใหม่ในส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีต 26 3) เพื่อสร้างแนวทางการออกแบบและการก่อสร้างถนนและลานอเนกประสงค์ ที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน จากการใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติกและวัสดุทางเลือก อันได้แก่วัสดุผิวทางรีไซเคิลและถ่านชีวมวล


4. กลุ่มเป้าหมาย :

– นักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

– หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องที่มีความสนใจในเรื่องการใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติกและวัสดุ ทางเลือกในการก่อสร้างถนน

– หน่วยงานภาคการเกษตรที่ต้องการกำจัดขยะชีวมวลที่ได้จากการเพาะปลูกด้วยการนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของ วัสดุงานก่อสร้างถนน


5. พื้นที่เป้าหมาย :

  • พื้นที่ภายในและนอกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พื้นที่ก่อสร้าง ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม

6. ขั้นตอนการดำเนินงาน :


7. ระยะเวลาดำเนินการ : มากกว่า 1 ปี


8. ผลผลิตและตัวชี้วัด (OUTPUT) :

ผลผลิต: ฉลากรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรและ Carbon Neutrality จาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)ในพื้นที่การศึกษาแม่เหียะ และศูนย์การศึกษาหริภุญไชย

ตัวชี้วัด:
1) ร้อยละ Carbon Neutral University ของทั้ง 2 พื้นที่
2) ได้รับฉลากรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรและ Carbon Neutrality จาก องค์การบริหารจัดการ ก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ทั้ง 2 พื้นที่


9. ผลลัพธ์ (OUTCOME)  :

  • มูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • จำนวนการผลักดันให้เกิดนโยบาย แนวปฏิบัติ แผน และกฎระเบียบ
  • จำนวนชุมชมที่ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่มีผลกระทบสูง โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับ Carbon Neutral University.