การจัดการและใช้ประโยชน์มูลวัวจากคอกสาธิตเพื่อการผลิตพืชปลอดสารพิษและหญ้าอาหารสัตว์


ความก้าวหน้าของโครงการ: 60%
60%

(ภายใต้โครงการพัฒนาฟาร์มหาวิทยาลัยเพื่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัยตามแนวทาง BCG Economic Model ปีที่ 2)

1. หลักการและเหตุผล (โดยสรุป) :

โครงการการพัฒนาฟาร์มมหาวิทยาลัยเพื่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัยตามแนวทาง BCG Economic Model ปีที่ 2 ได้พัฒนาขึ้นโดยความร่วร่มมือของคณะเกษตรศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอุตสาหกรรมเกษตร และกลุ่มตลาดปลอดพิษพิอาหารปลอดภัยในการพัฒนาการใช้พื้นที่และปรับรัปรุงกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ของศูนย์วิจัยสาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เม่หียะเพื่อสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG Economic Model

2. วัตถุประสงค์ :

  1. เพื่อบูรณาการกิจกรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ให้เหมาะสมต่อการพัฒนาการใช้พื้นที่ศูนย์วิจัย สาธิต และฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน และนวัตกรรมด้านอาหารและสุขภาพของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  2. เพื่อสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเกษตรปลอดภัย ตลอดจนการใช้ทรัพยากร หมุนเวียนสำหรับระบบการผลิตอย่างยั่งยืนแก่สังคมและชุมชนโดยรอบ

3. กลุ่มเป้าหมาย :

โรงเลี้ยงวัวสาธิต คณะเกษตรศาสตร์ และศูนย์บริหริจัดการขยะชีวมวลครบวงจร มช.

4. พื้นที่เป้าหมาย :

หน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ศูนย์วิจัยสาธิตและฝึกอบรมการเกษตร แม่เหียะ

5. ขั้นตอนการดำเนินงาน :

ปีงบประมาณ 2566

  1. กิจกรรมที่ 2: การจัดการโรงเรือรืนโคเพื่อการผลิตก๊าซชีวภาพ
  2. กิจกรรมที่ 3: การจัดของเสียจากโรงเรือนโคเพื่อการผลิตก๊าซชีวภาพ

ปีงบประมาณ 2567

  1. กิจกรรมที่ 2: การจัดการโรงเรือนโคเพื่อการผลิตก๊าซชีวภาพ
  2. กิจกรรมที่ 3: การจัดของเสียจากโรงเรือนโคเพื่อการผลิตก๊าซชีวภาพ

6. ระยะเวลาดำเนินการ : ปี 2566-2567

7. ผลผลิตและตัวชี้วัด (OUTPUT) :

KR : ร้อยละ 0.2 Carbon Neutral University

8. ผลลัพธ์ (OUTCOME)  :

1. คุณค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากนวัตกรรมการผลิตพืชและสัตว์ ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและพลังงานทางเลือกได้พื้นที่ต้นแบบของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีกิจกรรมการผลิต การแปรรูป และการบริโภคผลผลิตทางการเกษตรแบบครบวงจรตามแนวทาง BCG Economic Model ตั้งแต่การใช้ประโยชน์จากกากอินทรีย์ที่ได้จากการนำ ขยะเศษอาหารจากโรงอาหารของมหาวิทยาลัยไปผลิตก๊าซธรรมชาติ และขยะกิ่งไม้ใบไม้จากการดูแลภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัย นำ มาแปรรูปเป็นวัสดุปลูกและปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในการผลิตพืช และการใช้ประโยชน์จากมูลวัว เพื่อการผลิตก๊าซชีวภาพและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตพืชผักและพืชไร่ปลอดภัย ผลิตภัณฑ์ที่ได้สามารถนำ ไปจำหน่ายให้กับผู้บริโภค โดยคาดว่าผลผลิตพืชผักบางส่วนที่ได้จากโครงการจะถูกนำ ไปใช้โดยผู้ประกอบการในโรงอาหารของมหาวิทยาลัย เป็นตัวอย่างของการสร้างมูลค่าในระบบเศรษฐกิจที่เกิดจากการนำ เศษชีวมวลจากกิจกรรมการบริโภคและดูแลภูมิทัศน์นำกลับมาใช้ใหม่ในการผลิต ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการหาที่ทิ้ง หรือฝั่งกลบขยะชีวมวล ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการย่อยสลายตามธรรมชาติ ช่วยเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพการผลิตพืชที่เกิดจากการใช้วัสดุปลูกที่เหมาะสม รวมไปถึงการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตร องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นสามารถนำมาใช้ในการสร้างห่วงโซ่อุปทานสีเขียวของการผลิตและการบริโภคผลผลผลิตทางการเกษตร

2. คุณค่าทางเศรษฐกิจด้านการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

การอบรมเชิงปฏิบัติ การศึกศึษาดูงาน การจัดการตลาดผักปลอดพิษอาหารปลอดภัยของกลุ่มเกษตรกร และการประชาสัมพันธ์โครงการ จะเป็นสื่อกลางการถ่ายทอดความรู้ที่เกิดจากการพัฒนากิจกรรมต่างๆ ตามแนวทาง BCG Economy model ภายในพื้นที่ศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ อาทิเช่น แปลงปลูกพืชผักปลอดสารพิษ โรงเรือนผลิตพืชผักปลอดสารพิษ แปลงรวบรวมพืชผักพื้นบ้านล้านนา การผลิตพืชสวน พืชพื ไร่แบบปลอดภัยจากสารพิษ และศูนย์บริหารจัดการขยะชีวมวลแบบครบวงจร มช. และกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อก่อให้เกิดการต่อยอดด้านความคิดของผู้เยี่ยมชม และการนำ ไปสู่การพัฒนางานด้านการเกษตรที่คำนึงถึงคุณค่าทางสังคมและสิ่งแวดล้อม