ต้นแบบระบบผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ด้วยเซลล์แบบโปร่งแสง


ความก้าวหน้าของโครงการ: 15%
15%

1. หลักการและเหตุผล (โดยสรุป) :

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีการเรียนการสอนการผลิตบัณฑิตทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยระดับปริญญาโทและเอก ขยายเปิดหลักสูตรนานาชาติและมุ่งเน้นสู่ความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งมีศูนย์วิจัยและฝึกอบรมเป็นสถานที่ฝึกงานของนักศึกษา สนับสนุนด้านการเรียน การสอน งานวิจัย ได้แก่ ศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูงศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร และศูนย์บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ซึ่งคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นให้เป็น “Smart Agriculture towards Sustainable Development ผู้นำทางวิชาการด้านเกษตรอัจฉริยะ เพื่อสร้างและถ่ายทอดนวัตกรรมการเกษตร มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ จึงมีแนวคิดในการติดตั้งระบบผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ด้วยเซลล์ แบบโปร่งแสงที่สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ไร่เกษตรแม่เหียะ นำร่องการใช้พื้นที่ให้เกิดมูลค่าทางด้านพลังงานและการเกษตรควบคู่กัน ส่งเสริมแนวทางการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

2. วัตถุประสงค์ :

1. ออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยเซลล์แบบโปร่งแสง ขนาด 90 กิโลวัตต์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าภายในหน่วยงาน และเป็นพื้นที่แบบโปร่งแสงที่เหมาะแก่การเพาะเลี้ยงพันธุ์ไม้

2. เพื่อสร้างต้นแบบของการปลูกพืชในพื้นที่ใต้เซลล์แบบโปร่งแสง ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในอนาคต และเผยแพร่ให้แก่หน่วยงานอื่นๆ ในการบริหารจัดการโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ในการผลิตและใช้พลังงานทดแทนต่อไป

3. กลุ่มเป้าหมาย :

1. กลุ่มเป้าหมายหลัก : บุคลากรของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถลดการใช้พลังงาน และนำไปเป็นองค์ความรู้ในการต่อยอดด้านการวิจัยในอนาคตต่อไป

2. กลุ่มเป้าหมายรอง:นักศึกษา และบุคคลจากหน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เข้ามาศึกษาต้นแบบและนำไปต่อยอดต่อไป

4. พื้นที่เป้าหมาย :

พื้นที่ไร่เกษตรแม่เหียะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

5. ขั้นตอนการดำเนินงาน : 1ปี

กิจกรรมที่ 1 : สำรวจและเก็บข้อมูล

สำรวจรวบรวมข้อมูล ตัวแปร และปัจจัยที่มีผลต่อเทคโนโลยีระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมกับระบบตรวจติดตามการใช้พลังงานอัจฉริยะ

กิจกรรมที่ 2 : ออกแบบและติดตั้งระบบโซล่า

ออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรมพร้อมจัดหาอุปกรณ์และติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์พร้อมเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า

กิจกรรมที่ 3 : ประเมินผล ทดสอบ

เก็บข้อมูลกำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อประเมินผลการประหยัดพลังงานในการดำเนินงานของโครงการฯ และสรุปผลการดำเนินการ

6. ระยะเวลาดำเนินการ : 

7. ผลผลิตและตัวชี้วัด (OUTPUT) :

8. ผลลัพธ์ (OUTCOME)  :

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะมีระบบผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ด้วยเซลล์แบบโปร่งแสง ที่สามารถประยุกต์ใช้สำหรับการปลูกพืชทางเศรษฐกิจในพื้นที่ไร่เกษตรแม่เหียะ นำร่องการใช้พื้นที่ให้เกิดมูลค่าทางด้านพลังงานและการเกษตรควบคู่กัน ส่งเสริมแนวทางการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร อีกทั้งยังตอบโจทย์ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และรัฐบาล ในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก